ไปบนสุด

foto1 foto2 foto3 foto4 foto5
.

เมนูหลัก

Facebook Page

สถิติผู้เข้าขมเว็บไซต์

329515
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
73
104
591
327106
4241
11013
329515

ไอพีของคุณ : 18.116.89.8
ปี-ด-ว ชม:36

กองทุนสิ่งแวดล้อม อนุมัติงบ 5 ล้านบาท
“ราชภัฏโคราช” ผนึกกำลังทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขับเคลื่อนโคราชจีโอพาร์คโลก🎉🎉
.
จากการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 6/2567 มีมติอนุมัติ งบประมาณ จำนวน 5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนแบบองค์รวมตามแนวทางยูเนสโก พื้นที่โคราชจีโอพาร์คโลก
.
เมื่อวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในฐานะหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา และในนามหัวหน้าโครงการฯ เข้าร่วมนำเสนอโครงการ และตอบข้อซักถามต่างๆ ในรอบที่ 4 “โครงการเสริมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนแบบองค์รวมตามแนวทางยูเนสโก พื้นที่โคราชจีโอพาร์คโลก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 6/2567 ซึ่งจัดขึ้นโดย กองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม (กบก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ผ่านการประชุมแบบไฮบริด (Hybrid Meeting) โดยร่วมนำเสนอ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการโคราชจีโอพาร์ค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐินี ทองดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติฯ ดร.วิไลลักษณ์ นาคศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ฯ ดร.ปาริชาต กรวยนอก นักวิจัยจากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ นางสาวระพีพรรณ มีโภคา นักวิเคราะห์นโยบาย ตัวแทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา และ นางสาวสมฤทัย ปิยะรัตน์ นายพรมงคล นาคดี เจ้าหน้าที่หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมจังหวัดนครราชสีมา
.
โดยโครงการนี้สืบเนื่องเมื่อปี 2565 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้มีมติรับรองให้ “โคราชจีโอพาร์ค” (KHORAT Geopark) เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) จากการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 (216th session of the Executive Board) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 24 พฤษภาคม ที่องค์การยูเนสโก สำนักงานใหญ่ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดย ส่งผลให้จังหวัดนครราชสีมา กลายเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย เป็นเมืองที่ 4 ของโลกต่อจากประเทศอิตาลี เกาหลีใต้ และจีน ที่มีดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก (Triple Crown) ในจังหวัดเดียวกัน และส่งผลต่อเนื่องให้ อุทยานธรณีโคราช เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่นมีแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญสัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งในด้านการอนุรักษ์ การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจากล่างสู่บน (bottom-up) เชื่อมโยงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ทำให้จังหวัดนครราชสีมา เป็น Korat The UNESCO Triple Heritage City รวม 3 แห่ง ประกอบด้วย 1) มรดกโลก (World Heritage) ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 2) พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช และ 3) โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark) เพื่อให้การดำเนินงานมีการรองรับในทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะมิติทางด้านสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม จึงได้มีการเสนอโครงการ “โครงการเสริมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนแบบองค์รวมตามแนวทางยูเนสโก พื้นที่โคราชจีโอพาร์คโลก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” โดยบูรณาการกับโคราชจีโอพาร์ค สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติฯ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา โดยมีแผนในการดำเนินการ ฟื้นฟูใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ในพื้นที่ 4 แหล่งใน 3 อำเภอ ได้แก่ 1.ป่าไม้กลายเป็นหินโกรกเดือนห้า อ.เมืองนครราชสีมา 2.แหล่งเกลือสินเธาว์พันดุง อ.ขามทะเลสอ 3.ป่าหุบใหญ่ อ.เฉลิมพระเกียรติ 4.บ่อทรายท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ
.
ในนามของหน่วยอนุรักษ์จังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ในทุกมิติของการสนับสนุนการขับเคลื่อนทางด้านธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ถือได้ว่าส่วนสนับสนุนการผลักดันให้โคราชจีโอพาร์ค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมามีความพร้อมเข้าในการตรวจประเมินของยูเนสโก (UNESCO) ตามที่ได้การรับรองให้ “โคราชจีโอพาร์ค” (KHORAT Geopark) เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) ต่อเนื่องในรอบที่สองต่อไป
.

 

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมท้องถิ่นนครราชสีมา

Copyright © 2024 anurakkorat Rights Reserved.